เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
7-8. ลักษณะพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม

“มหาบุรุษเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม
ของที่ควรชิม และน้ำที่ควรดื่ม มีรสอันเลิศ
เพราะกรรมที่เป็นสุจริตนั้น มหาบุรุษนั้น
จึงบันเทิงยิ่งตลอดกาลนานในสวนนันทวัน
เสด็จมาในโลกนี้อีก
ทรงได้พระมังสะในที่ 7 แห่งเต็มบริบูรณ์
ได้ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
บัณฑิตผู้ฉลาดในพยัญชนะและนิมิต
ทำนายมหาบุรุษนั้นว่า
เป็นผู้ได้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันมีรส
ลักษณะนี้ใช่ว่าจะบ่งบอกถึงการได้ของควรเคี้ยว
ของควรบริโภค เฉพาะเมื่อมหาบุรุษเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น
แม้เมื่อทรงออกผนวช
ก็จะได้ของควรเคี้ยวของควรบริโภคนั้นเหมือนกัน
บัณฑิตทั้งหลายทำนายมหาบุรุษผู้ได้ของควรเคี้ยว
ของควรบริโภคที่มีรสอันเลิศว่า พระองค์
จะเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ทั้งปวงได้”

7-8. ลักษณะพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม
และมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย1

[210] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ (1) ทาน (การให้) (2) เปยยวัชชะ
(วาจาเป็นที่รัก) (3) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (4) สมานัตตตา (การวางตน

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 5,6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :170 }